เป็นการต่อส่วนที่เป็นโลหะที่ไม่มีกระแสไหลผ่านของสถานประกอบการให้ถึงกันตลอดแล้วต่อลงดิน จุดประสงค์ของการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า

1. เพื่อให้ส่วนโลหะที่ต่อถึงกันตลอดมีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ป้องกันไฟดูด

2. เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำงานได้เร็วขึ้น เมื่อมีกระแสรั่วไหลลงโครงโลหะ

3. เป็นทางผ่านให้กระแสรั่วไหลลงดิน

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน

1. เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายไฟฟ้า แผงเมนสวิตซ์ โครงและรางปั้นจั่นที่ใช้ไฟฟ้า โครงของตู้ลิฟต์ ลวดสลิงยกของที่ใช้ไฟฟ้า

2. สิ่งกั้นที่เป็นโลหะ รวมทั้งเครื่องห่อหุ้มของอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบแรงสูง

3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยึดติดอยู่กับที่และที่ต่ออยู่กับสายไฟฟ้าที่เดินอย่างถาวร ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งซึ่งปกติไม่มีไฟฟ้า แต่อาจมีไฟรั่วได้ ต้องต่อลงดินถ้าอยู่ในสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

3.1 อยู่ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 8 ฟุตในแนวตั้ง หรือ 5 ฟุตในแนวนอนและบุคคลอาจสัมผัสได้ (ถ้ามีวิธีป้องกันไม่ให้ บุคคลสัมผัสได้ก็ไม่ต้องต่อลงดิน)

3.2 สัมผัสทางไฟฟ้ากับโลหะอื่นๆ และบุคคลอาจสัมผัสได้

3.3 อยู่ในสภาพเปียกชื้นและไม่ได้มีการแยกให้อยู่ต่างหาก

4. อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับยึดติดอยู่กับที่ดังต่อไปนี้ ต้องต่อส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งและปกติไม่มีกระแสรั่วลงดิน

4.1 โครงของแผงสวิตซ์

4.2 โครงของมอเตอร์ชนิดยึดติดกับที่

4.3 กล่องเครื่องควบคุมมอเตอร์ ถ้าเป็นสวิตซ์ธรรมดาและมีฉนวนรองที่ฝาด้านในก็ไม่ต้องต่อลงดิน

4.4 อุปกรณ์ไฟฟ้าของลิฟต์และปั้นจั่น

4.5 ป้ายโฆษณา เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องสูบน้ำ

5. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบ ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

5.1 แรงดันเทียบกับดินเกิน 150 โวลท์ ยกเว้นมีการป้องกันอย่างอื่นหรือมีฉนวนอย่างดี

5.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งที่ใช้ในที่อยู่อาอศัยและที่อื่นๆ เช่น

– ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ

– เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง

– เครื่องประมวลผลข้อมูล เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา

– เครื่องมือที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เช่นสว่านไฟฟ้า – เครื่องตัดหญ้า เครื่องขัดถู

– เครื่องมือที่ใช้ในสถานที่เปียกชื้น เป็นพื้นดินหรือเป็นโลหะ

– โคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้

การต่อลงดินที่ตัวอุปกรณ์

1. การต่อลงดินแบบนี้จะเป็นการต่อลงดินที่โครงของเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรงซึ่งการต่อลงดินวิธีนี้โดยส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผู้ผลิตได้ติดตั้งจุดสำหรับการต่อลงดินไว้ให้แล้ว เช่น ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ หรือเครื่องซักผ้า

2. การต่อลงดินที่โครงอุปกรณ์ไฟฟ้าร่วมกับสายนิวทรัล การต่อลงดินวิธีนี้คล้ายกับวิธีแรก เพียงแต่การต่อวงจรของสายดินจะต่อร่วมเข้ากับสายนิวทรัล หรือสายกลางของระบบไฟหลักที่ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟรั่วที่อุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะไหลลงดินโดยผ่านสายนิวทรัล

3. การต่อลงดินที่โครงอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยผ่านท่อโลหะและสายนิวทรัล การต่อลงดินวิธีนี้จะคล้ายกับวิธีที่สอง เพียงแต่การต่อวงจรของสายดินจะต่อวงจรร่วมกับสายนิวทรัล หรือสายกลางโดยผ่านท่อดินสายที่เป็นโลหะ เมื่อมีกระแสไฟรั่วที่อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นก็จะทำให้กระแสไฟที่รั่วไหลลงดินโดยผ่านท่อโลหะไปสู่สายนิวทรัล